วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุป อะเรย์ (Array)

DTS 01
สรุป (ครั้งที่ 1)
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ทราบถึงความหมายของโครงสร้างข้อมูล
2.ได้ทราบประเภทของโครงสร้างข้อมูล
3.ได้ทราบสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการเขียนข้อมูล
4.ได้ทราบขั้นตอนวิธีการสร้างอัลกอลิทึ่ม


DTS 02
Array (ครั้งที่ 2)
อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน ใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก
การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม subscript เป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์ มีได้มากกว่า 1 ตัว subscript จะเป็นตัวบอกมิติของอะเรย์นั้น ข้อกำหนดของการกำหนดค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของ subscript คือ 1. ค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ 2. ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง 3. ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน อะเรย์มี 2 ประเภท คือ 1.อะเรย์ 1 มิติ 2.อะเรย์หลายมิติ การส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชัน สามารถกำหนดอะเรย์เป็นพารามิเตอร์ส่งให้กับฟังก์ชันได้ 2 ลักษณะ 1.การกำหนด array element เป็นพารามิเตอร์ส่งค่าให้กับฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์พร้อมระบุ subscript 2.ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชันทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript
Record or Structure เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบขึ้นมาจากข้อมูลพื้นฐานต่างประเภทกัน รวมเป็น 1 ชุด คือประกอบด้วย data element หรือ field ต่างประเภทกันรวมกัน ในภาษาc คือ กำหนดข้อมูลเป็นรูปแบบของ structure
Structure คือ โครงสร้างที่สมาชิกแต่ละตัวมีประเภทข้อมูลแตกต่างกันได้ โดยที่ใน structure อาจมีสมาชิกเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อักขระ อะเรย์หรือพอยเตอร์ หรือแม้แต่ structure ด้วยกันเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น