วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนเตรียมฝึกประสบการณ์ คือ
ครั้งที่ 1 ได้รู้ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนเตรียมฝึกว่ามีข้อกำหนดอะไรบ้าง และวันใหนต้องมาทำกิจกรรมอะไรบ้าง
ครั้งที่ 2 ได้รู้เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของมหาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ครั้งที่ 3 ได้รู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และธนาคารความดี
ครั้งที่ 4 ได้รุ้เกี่ยวกับเรื่องของการเงิน การใช้จ่ายต่างๆ แล้ววิธีการจัดทำรายรับรายจ่ายของตนเอง
ครั้งที่ 5 ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
ครั้งที่ 6 ทดสอบภาษาอังกฤษ ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 7 ได้รับรู้หลักการที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จ
ครั้งที่ 8 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้ามชาติ
ครั้งที่ 9 ได้เรียนเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ครั้งที่10 ปัจฉิมนิเทศน์ ได้ความรู้และแง่คิดดีๆจากพระอาจารย์ที่มาเทศให้ฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS 10

การเรียงลำดับ Sorting

การเรียงลำดับ เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผนช่วยให้การค้าหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การค้าหาความหมายของคำในพจนานุกรม ทำได้ค่อนข้างง่าย และรวดเร็วเนื่องจากมีการเรียงลำดับคำตามตัวอักษรไว้อย่างมีระเบียบ

วิธีการเรียงลำดับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.การเรียบลำดับแบบภายใน
เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลักเวลาทีใช้ในการเรียงลำดับจะคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการเปรียบเทียบและเลื่อนข้อมุลภายในความจำหลัง
2.การเรียบลำดับแบบภายนอก
เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำหลักซึ่งเป็นการเรียงลำดับข้อมุลในแฟ้มข้อมูล (file)เวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับต้องคำนึงถึงเวลาที่เสียไประหว่างการถ่ายเทข้อมูล จากหน่ายความจำหลักและหน่วยความสำรองนอกเหนือจากเวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อแบบภายใน

การเรียงลำดับแบบเลือก
ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ข้อมูลนั้นควรจะอยู่ทีละ
ตัวโดยทำการค้นหาข้อมูลนั้นในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับถ้าเป็น
การเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

การเรียงลำดับแบบฟอง
การจัดเรียงลำดับแบบฟองเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่นิยมใช้กันมากเพราะมีรูปแบบที่
เข้าใจง่ายแต่ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างต่ำพอๆ
กับการเรียงลำดับแบบเลือก

การเรียงลำดับแบบเร็ว
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูล
ที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงานวิธี
นี้จะเลือกข้อมูลจากกลุ่มข้อมูลขึ้นมาหนึ่งค่าเป็นค่าหลัก
แล้วหาตำแหน่งที่ถูกต้องให้กับค่าหลักนี้เมื่อได้ตำแหน่ง
ที่ถูกต้องแล้วใช้ค่าหลักนี้เป็นหลักในการแบ่งข้อมูลออกเ
ป็นสองส่วนถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากส่วนแรก
อยู่ในตอนหน้าข้อมูลทั้งหมดจะมีค่าน้อยกว่าค่าหลักที่
เป็นตัวแบ่งส่วน

การเรียงลำดับแบบแทรก
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปใน
เซตที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้วและทำให้เซต
ใหม่ที่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วยวิธีการเรียงลำดับจะ
1. เริ่มต้นเปรียบเทียบจากข้อมูลในตำแหน่งที่ 1 กับ 2
หรือข้อมูลในตำแหน่งสุดท้ายและรองสุดท้ายก็ได้ถ้า
เป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
2. จะต้องจัดให้ข้อมูลที่มีค่าน้อยอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มี
ค่ามากและถ้าเรียงจากมากไปน้อยจะก็จะจัดให้ข้อมูลที่มีค่ามาก
อยู่ในตำแหน่งก่อน


การเรียงลำดับแบบฐาน
เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก
1. เริ่มพิจารณาจากหลักที่มีค่าน้อยที่สุดก่อนนั่นคือถ้าข้อมูล
เป็นเลขจำนวนเต็มจะพิจารณาหลักหน่วยก่อน
2. การจัดเรียงจะนำข้อมูลเข้ามาทีละตัวแล้วนำไปเก็บไว้ที่
ซึ่งจัดไว้สำหรับค่านั้นเป็นกลุ่มๆตามลำดับการเข้ามา

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชิ้นที่ 2

#include
main()
{
char name[20];
int age;
float weight;

printf("name:");
scanf("%s",&name);
printf("age:");
scanf("%d",&age);
printf("weight:");
scanf("%f",&weight);
printf("\n###################\n");
printf("name\tage\tweight\n");
printf("%s\t%d\t%.2f",name,age,weight);
printf("\n###################\n");
}

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 4
โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์
โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน
ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง
โหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูล
แรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล
(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create List
หน้าที่ สร้างลิสต์ว่าง
ผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง
2. กระบวนงาน Insert Node
หน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่ง
ที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่ง
ผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Node
หน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่ง
ที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่ง
ผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. กระบวนงาน Search list
หน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่
พบข้อมูล
5. กระบวนงาน Traverse
หน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและ
ประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล เช่น
เปลี่ยนแปลงค่าใน node , รวมฟิลด์ในลิสต์ ,
คำนวณค่าเฉลี่ยของฟิลด์ เป็นต้น


DTS 5

Stack
โครงสร้างของ Stack

สแตกเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์(linear list) ที่สามารถนำข้อมูลเข้าหรือออกได้ทางเดียวคือส่วนบนของสแตกหรือ หรือเรียกว่า ท๊อปของสแตก (Top Of Stack) ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเรียกว่า ไลโฟลิสต์ (LIFO list: Last-In-First-Out list) หรือ พูชดาวน์ลิสต์ (Pushdown List) คือสมาชิกที่เข้าลิสต์ที่หลังสุดจะได้ออกจากลิสต์ก่อน หรือ เข้าหลังออกก่อน การเพิ่มข้อมูลเข้าสแตกจะเรียกว่าพูชชิ่ง (pushing) การนำข้อมูลจากสแตกเรียกว่า ป๊อปปิ้ง (poping) การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตกทำที่ท๊อปของสแตก ท๊อปของสแตกนี้เองเป็นตัวชี้สมาชิกตัวท้ายสุดของสแตก การทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญคือ

Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก โดยการเพิ่มข้อมูลลงในสแตก จะต้องทำการตรวจสอบว่าสแตก เต็มหรือไม่ ถ้าไม่เต็มก็สามารถเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตกได้ แล้วปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ที่ตำแหน่งข้อมูลใหม่ ถ้าสแตกเต็ม (Stack Overflow) ก็จะไม่สามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปในสแตกได้อีก

Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก โดยการนำข้อมูลออกจากสแตก ถ้าสแตกมีสมาชิก เพียง 1ตัว แล้วนำสมาชิกออกจากสแตก จะเกิดสภาวะสแตกว่าง (Stack Empty)คือ ไม่มีสมาชิก อยู่ในสแตกเลย แต่ถ้าไม่มีสมาชิกในสแตก แล้วทำการ pop สแตก จะทำให้ เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Stack Underflowเพราะฉะนั้นก่อนนำข้อมูลออกจากสแตกจะต้องตรวจสอบ ก่อนว่าสแตกว่างหรือเปล่า จึงจะนำข้อมูลออกจากสแตกได้และ ปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ตำแหน่งของข้อมูลที่ต่อจากข้อมูลที่ถูกนำ ออกไป

Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตกการแทนที่ข้อมูลของสแตกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์ ประกอบไปด้วย2 ส่วน คือ1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก
ส่วนประกอบของสแตก
การนำสแตกไปใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสแตกแบบแถวลำดับ(array)หรือ แบบลิงค์ลิสต์ (link list) เราจะมีตัวแปรตัวหนึ่งที่ใช้เป็นตัวชี้สแตก(stack pointer ) เพื่อเป็นตัวชี้ข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการข้อมูล ที่จะเก็บในสแตกได้ง่าย ดังนั้นโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ
1. ตัวชี้สแตก ( Stack Pointer ) ซึ่งมีหน้าที่ชี้ไปยังข้อมูลที่อยู่บนสุดของ สแตก ( Top stack )
2. สมาชิกของสแตก ( Stack Element ) เป็นข้อมูลที่จะเก็บลงไปในสแตก ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม เป็นต้น
ประโยชน์ของ Stack
ประโยชน์ของสแตก ใช้ในการจดจำการกระโดดไปมาระหว่างโปรแกรมย่อย ใช้ในการเขียนโปรแกรมแบบรีเคอร์ซีฟ (Recursive) ใช้ในการจดจำเส้นทางในการเดินทางของโครงสร้างข่ายงาน (Network) หรือ โครงสร้างของต้นไม้ (Tree) ลักษณะสำคัญของสแตก โครงสร้างข้อมูลเป็นแบบเชิงเส้น (Linear structure) มีโครงสร้างที่ไม่ตายตัว (dynamic structure) นำข้อมูลเข้าและดึงข้อมูลออกได้ (push and pop) นำข้อมูลเข้าและดึงข้อมูลออกแบบลำดับ (lifo mechanism) มีการจัดการนำเข้าและดึงข้อมูลในตำแหน่งบนสุด (push and pop at top)

DTS 6
เรื่อง Queue

คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ซึ่งการเพิ่ม
ข้อมูล จะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่ง เรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear)
และการนำข้อมูล ออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า
ส่วนหน้าหรือฟรอนต์(front)

ลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่
เรียกว่าFIFO (First In First Out)
การทำงานของคิวการใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิว
เรียกว่าEnqueueซึ่งมีรูปแบบคือenqueu(queue,newElement)
หมายถึง การใส่ข้อมูลnewElement ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว

การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่าDequeue ซึ่งมีรูปแบบคือdequeue
(queue, element) หมายถึง การนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้
ข้อมูลนั้นกับ element
-การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงจะเรียกว่า Queue Front
แต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
-การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงจะ เรียกว่าQueue Rear
แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว

การแทนที่ข้อมูลของคิวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Nodeจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือพอยเตอร์จำนวน 2 ตัว
คือ Front และ rear กับจำนวนสมาชิในคิว
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

การดำเนินการเกี่ยวกับคิว ได้แก่
1.Create Queue คือ จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า pointer
ทั้ง 2 ตัวมีค่าเป็น null และจำนวนสมาชิกเป็น
2. Enqueue คือ การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
3. Dequeue คือ การนำข้อมูลออกจากคิว
4. Queue Front คือ เป็นการนำข้อมูลที่อยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5. Queue Rear คือ เป็นการนำข้อมูลที่อยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6. Empty Queue คือเป็นการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7. Full Queue คือ เป็นการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8. Queue Count คือ เป็นการนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9. Destroy Queue คือ เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในคิว



DTS 7

การแปลงนิพจน์ Infix ให้เป็น Postfix

ผู้เขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องคำนวณต้องเขียนนิพจน์ที่ต้องการไปในตัวโปรแกรม ซึ่งนิพจน์เหล่านี้เรียกว่า นิพจน์ Infix คือนิพจน์ที่มีโอเปอร์เรเตอร์ (Operator) อยู่ระหว่างโอเปอร์แรนด์ (Operand) ทั้งสอง เช่น A+B เครื่องหมาย + เป็นโอเปอร์เรเตอร์ระหว่างโอเปอร์แรนด์ A และ B ซึ่งเห็นว่าเป็นนิพจน์ที่มนุษย์คุ้นเคย ข้อเสียของนิพจน์ infix ทีททำให้คอมไพเลอร์ยุ่งยาก คือลำดับความสำคัญของโอเปอร์เรเตอร์ (Precedence) ที่ต่างกัน เช่นเครื่องหมายยกกำลัง (ใช้ ^ ในการเขียนโปรแกรม) มีความสำคัญมากกว่าเครื่องหมายคูณ และหาร และเครื่องหมายคูณและหารมีความสำคัญมากกว่าเครื่องหมายบวกและลบ

Operator คือเครื่องหมายกระทำ + - * / ^

Operand คือตัวแปรต่าง ๆ A,B,C,D,E เช่น A+B*C,(A*B)-C

ลำดับความสำคัญ Operator

เครื่องหมายคูณกับหาร *,/
เครื่องหมายบวกกับลบ +,-
เครื่องหมายวงเล็บ () กระทำก่อนเช่น A+(B*C)
เครื่องหมายระดับเดียวกันไม่มีวงเล็บให้ทำจากซ้ายไปขวา เช่น A+B+C

เมื่อการประมวลนิพจน์ infix เป็นไปด้วยความยากที่การคำนวณไม่เป็นไปตามลำดับของเครื่องหมายโอเปอร์เรเตอร์ที่มีก่อนหลัง คอมไพเลอร์จึงแปลงนิพจน์ infix ให้เป็น postfix เสียก่อน


DTS 8
เรื่อง Tree


ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์
ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับ
ชั้น (Hierarchical Relationship)
ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงาน
ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดใน
ระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนด
เรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent or
Mother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับ
เรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)
เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)
นิยามของทรี
1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟ
ทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกัน
ทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
การเขียนรูปแบบทรี อาจเขียนได้ 4
ก) แบบที่มีรากอยู่ด้านบน
ข) แบบที่มีรากอยู่ด้านล่าง
ค) แบบที่มีรากอยู่ด้านซ้าย
ง) แบบที่มีรากอยู่ด้านขวา
2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟ
ทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่า
โหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่า
นัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนด
หนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น
ทรีย่อย (Sub Tree)
T1, T2, T3,…,Tk โดยที่ k>=0 และทรีย่อย
ต้องมีคุณสมบัติเป็นทรี
นิยามที่เกี่ยวข้องกับทรี
1. ฟอร์เรสต์ (Forest)หมายถึง กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากของทรีออก
หรือ เซตของทรีที่แยกจากกัน
2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree)หมายถึง ทรีที่โหนดต่าง ๆ ในทรีนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่น ไปทางขวา
ไปทางซ้าย เป็นต้น
3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน หรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึง
ข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด
4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ โดยต้องเป็นทรีที่
คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน
5. กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด นั้น ๆ
6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1 หน่วย ซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุด
จากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆ บวกด้วย 1 และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง (Height) หรือความลึก (Depth)

-การแทนทรีด้วย โหนดขนาดเท่ากันค่อนข้างใช้เนื้อที่จำนวนมาก
เนื่องจากแต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูกไม่เท่ากันหรือบาง
โหนดไม่มีโหนดลูกเลยถ้าเป็นทรีที่แต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูกที่แตกต่าง
กันมากจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำโดยเปล่าประโยชน์

-โครงสร้างทรีที่แต่ละโหนดมีลิงค์ฟิลด์แค่สองลิงค์ฟิลด์ ซึ่งช่วยให้ประหยัด
เนื้อที่ ในการจัดเก็บได้มาก เรียกโครงสร้างทรีที่แต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูก
ไม่เกินสอง หรือแต่ละโหนดมีจำนวนทรีย่อยไม่เกินสองนี้ว่า ไบนารีทรี
(Binary Tree) มีวิธีการท่องเข้าไปในทรี 6 วิธี
คือ NLR LNR LRN NRL RNL และ RLN
แต่วิธีการท่องเข้าไปไบนารีทรีที่นิยมใช้กันมากเป็นการท่องจากซ้ายไปขวา
3 แบบแรกเท่านั้นคือ NLR LNR และ LRN ซึ่งลักษณะการเป็นนิยามแบบ
รีเคอร์ซีฟ(Recursive) ซึ่งขั้นตอนการท่องไปในแต่ละแบบมีดังนี้

1. การท่องไปแบบพรีออร์เดอร์(Preorder Traversal)เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ
ในทรีด้วยวิธีNLR มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) เยือนโหนดราก
(2) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบพรีออร์เดอร์
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบพรีออร์เดอร์

2.การท่องไปแบบอินออร์เดอร์(Inorder Traversal)เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง
ๆในทรีด้วยวิธี LNRมีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบอินออร์เดอร์
(2) เยือนโหนดราก
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบอินออร์เดอร์

3. การท่องไปแบบโพสออร์เดอร์(Postorder Traversal)เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ
ในทรีด้วยวิธี LRN มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบโพสต์ออร์เดอร์
(2) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบโพสต์ออร์เดอร์
(3) เยือนโหนดราก

DTS 9
เรื่อง Graph

กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ และปัญหาเส้นทาง
ที่สั้นที่สุด เป็นต้น

นิยามของกราฟ
กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)ถ้าต้องการอ้างถึงเอ็จแต่ละเส้นสามารถเขียนชื่อเอ็จกำกับไว้ก็ได้
กราฟแบบไม่มีทิศทางเป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (Empty Graph)แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด หรือเชื่อมตัวเอง เอ็จไม่มีทิศทางกำกับ ลำดับของการเชื่อมต่อกันไม่สำคัญ นั่นคือไม่มีโหนดใดเป็นโหนดแรก (First Node) หรือไม่มีโหนดเริ่มต้น และไม่มีโหนดใดเป็นโหนดสิ้นสุด
กราฟแบบมีทิศทาง เป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็น
กราฟว่าง (Empty Graph) แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด เอ็จมีทิศทางกำกับแสดงลำดับของการเชื่อมต่อกัน โดยมีโหนดเริ่มต้น(Source Node) และ โหนดสิ้นสุด (Target Node)รูปแบบต่าง ๆ ของกราฟแบบมีทิศทางเหมือนกับ
รูปแบบ ของกราฟไม่มีทิศทาง ต่างกันตรงที่กราฟแบบนี้จะมีทิศทางกำกับด้วยเท่านั้น

การแทนกราฟในหน่วยความจำ
ในการปฏิบัติการกับโครงสร้างกราฟ สิ่งที่ต้องการจัดเก็บ จากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีการจัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ
การแทนกราฟในหน่วยความจำด้วยวิธีเก็บเอ็จทั้งหมดใน แถวลำดับ 2 มิติ จะค่อนข้าง
เปลืองเนื้อที่ เนื่องจากมีบางเอ็จที่เก็บซ้ำอาจหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้โดยใช้แถวลำดับ 2 มิติเก็บโหนดและ พอยเตอร์ชี้ไปยงตำแหน่งของ
โหนดต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ด้วย และใช้ แถวลำดับ1 มิติเก็บโหนดต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับโหนดในแถวลำดับ 2 มิติ

การท่องไปในกราฟ
การท่องไปในกราฟ (graph traversal) คือ กระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ โดยมีหลักในการทำงานคือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว สำหรับการท่องไปในทรีเพื่อเยือนแต่ละโหนดนั้นจะมีเส้นทางเดียวแต่ในกราฟระหว่างโหนดอาจจะมีหลายเส้นทาง ดังนั้นเพื่อป้องกันการท่องไปในเส้นทางที่ซ้ำเดิมจึงจำเป็นต้องทำเครื่องหมายบริเวณที่ได้เยือนเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อไม่ให้เข้าไปเยือนอีก สำหรับเทคนิคการท่องไปในกราฟมี 2 แบบดังนี้
1. การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal)วิธีนี้ทำโดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น ต่อมาให้เยือนโหนด
อื่นที่ใกล้กันกับโหนดเริ่มต้นทีละระดับจนกระทั่งเยือนหมดทุกโหนดในกราฟ
2. การท่องแบบลึก (Depth First Traversal)การทำงานคล้ายกับการท่องทีละระดับของทรี โดย
กำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกและเยือนโหนดถัดไปตามแนววิถีนั้นจนกระทั่งนำไปสู่ปลายวิถีนั้น จากนั้นย้อนกลับ (backtrack) ตามแนววิถีเดิมนั้น จนกระทั่งสามารถดำเนินการต่อเนื่องเข้าสู่แนววิถีอื่น ๆ เพื่อเยือนโหนดอื่น ๆ ต่อไปจนครบทุกโหนด

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัด Lecture 2
1.ให้นักศึกษากำหนดค่าของ Array 1 มิติ และ Array 2 มิติ
- Array 1 มิติ คือ char surname[40];
- Array 2 มิติ คือ int name[7][8];

2.ให้นักศึกษาหาค่าของ A[2] , A[6] จากค่าA={2,8,16,24,9,7,3,8,}
- A[2] คือ 16 และ A[6] คือ 3

3.จากค่าของ int a [2][3] = {{6,5,4},{3,2,1}}; ให้นักศึกษาหาค่าของ a[1][0]และa[0][2]
- a[1][0] คือ 3 และ a[0][2] คือ 4

4.ให้นักศึกษากำหนด structure ที่มีค่าของข้อมูลจากน้อย 6 Records
#include"stdio.h"
struct police
{
char name[40];
char lastname[40];
char sex[10];
int age;
char address [20];
int day;
int month;
int year;
}data;

5. ให้นักศึกษาบอกความแตกต่างของการกำหนดตัวชนิด Array กับตัวแปร Pointer ในสภาพของการกำหนดที่อยู่ของข้อมูล
- array หมายถึง ตัวแปรชุดที่ใช้เก็บตัวแปรชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น เก็บ ข้อมูล
DTS 3
สรุปการเรียน Lecture 2 เรื่อง Pionter
Pointer เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่ง
ที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ
การกำหนด address ให้ pointer
วิธีนำเลข address ไปใส่ pointer ทำได้โดยใช้เครื่องหมาย & (address operator)
Pointer ที่เกิดจากเครื่องหมาย &
เมื่อเครื่องหมาย & ถูกใส่ไว้หน้าตัวแปรใดๆ ก็ตาม จะมีความหมายถึงค่าของตำแหน่งในหน่วยความจำที่ใช้เก็บค่าของตัวแปรนั้น ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ ในคำสั่ง scanf เช่น
int x;
scanf(“%d”,&x);
มีความหมายว่า ให้รับค่าทางคีย์บอร์ดแล้วให้แปลงเป็น integer แล้วนำไปใส่ในหน่วยความจำที่เป็นตำแหน่งของ x

*** เราสามารถอ้างถึงค่าที่อยู่ในตัวแปร x ได้โดยการใส่ * หน้า &x ก็จะมีความหมายเช่นเดียวกับ x นั่นเอง เช่น
x=5;
printf(“%d %d”, x, *(&x) );
ผลรัน จะเป็น 5

Pointer ที่เกิดจากการกำหนดตัวแปร array
การอ้างถึงชื่อของตัวแปร array โดยไม่ได้ระบุตัวชี้ลำดับ(subscript) จะหมายถึงตำแหน่ง(ในหน่วยความจำ)ของ array ตัวแรก ในภาษาซีจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของตัวแปร array ดังกล่าวได้ เช่น
char a[100];
a+=10; // error
ในกรณีนี้ &a จะมีความหมายเช่นเดียวกับ a ซึ่งก็คือค่าตำแหน่งในหน่วยความจำของ array ตัวแรกนั่นเอง
การประกาศชนิดของตัวแปรพอยน์เตอร์

รูปแบบ
type *variable-name
type หมายถึง ชนิดของตัวแปร
* หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตัวแปรที่
ตามหลังเครื่องหมายนี้เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
variable-name เป็นชื่อของตัวแปรที่ต้องการประกาศว่าเป็น
ชนิดพอยน์เตอร์

ข้อสรุปเรื่อง pointer
• ทำหน้าที่ชี้ไปยังตำแหน่งเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ
• การประกาศ pointer ต้องกำหนด data type ด้วย
• ใช้ pointer ชี้ไปยัง pointer หรือชี้ไปยัง array หรือ array ของ pointer ก็ได้
• pointer ที่ชี้ไปยัง pointer ใช้ดอกจันสองตัว เช่น int** p
• pointer arithmetic เป็นไปตาม data type

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

structure

#include"stdio.h"
struct date
{
int day;
int month;
int year;
};
struct employee
{
int id;
char name[40];
char last[40];
char sex[10];
int old;
struct date How;
}sd;
void input_data()
{
printf("Input Resume of employee\n:");
printf("enter day data:");
scanf("%d",&sd.How.day);
printf("enter month data:");;
scanf("%d",&sd.How.month);
printf("enter year data:");
scanf("%d",&sd.How.year);
printf("\nData Employee\n");
printf("\ninput ID Employeer : ");
scanf("%d",&sd.id);
printf("Input your name:");
scanf("%s",&sd.name);
printf("Input your lastname:");
scanf("%s",&sd.last);
printf("input sex:");
scanf("%s",&sd.sex);
printf("input Old:");
scanf("%d",&sd.old);
}
void show_data()
{
printf("\nDisplay Resume of Employee \n");
printf("\nDisplay Date : %d-%d-%d\n",sd.How.day,sd.How.month,sd.How.year);
printf("ID of Employee :%d\n",sd.id);
printf("Name of Employee:%s\n",sd.name);
printf("Sex :%s\n",sd.sex);
printf("Old :%d\n",sd.old);
}
main()
{
input_data();
show_data();
};

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุป อะเรย์ (Array)

DTS 01
สรุป (ครั้งที่ 1)
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ทราบถึงความหมายของโครงสร้างข้อมูล
2.ได้ทราบประเภทของโครงสร้างข้อมูล
3.ได้ทราบสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการเขียนข้อมูล
4.ได้ทราบขั้นตอนวิธีการสร้างอัลกอลิทึ่ม


DTS 02
Array (ครั้งที่ 2)
อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน ใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก
การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม subscript เป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์ มีได้มากกว่า 1 ตัว subscript จะเป็นตัวบอกมิติของอะเรย์นั้น ข้อกำหนดของการกำหนดค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของ subscript คือ 1. ค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ 2. ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง 3. ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน อะเรย์มี 2 ประเภท คือ 1.อะเรย์ 1 มิติ 2.อะเรย์หลายมิติ การส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชัน สามารถกำหนดอะเรย์เป็นพารามิเตอร์ส่งให้กับฟังก์ชันได้ 2 ลักษณะ 1.การกำหนด array element เป็นพารามิเตอร์ส่งค่าให้กับฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์พร้อมระบุ subscript 2.ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชันทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript
Record or Structure เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบขึ้นมาจากข้อมูลพื้นฐานต่างประเภทกัน รวมเป็น 1 ชุด คือประกอบด้วย data element หรือ field ต่างประเภทกันรวมกัน ในภาษาc คือ กำหนดข้อมูลเป็นรูปแบบของ structure
Structure คือ โครงสร้างที่สมาชิกแต่ละตัวมีประเภทข้อมูลแตกต่างกันได้ โดยที่ใน structure อาจมีสมาชิกเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อักขระ อะเรย์หรือพอยเตอร์ หรือแม้แต่ structure ด้วยกันเอง

แนะนำตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุภนิดา แซ่จิว

ชื่อเล่น ทราย

ฉายา ซาลาเปา

วันเกิด 2 ธันวาคม 2531

อายุ 21

นิสัย ร่าเริง แจ่งใส แต่เครียดมากเวลางานไม่เสร็จ

อยู่บ้านเลขที่ 63 ม.8 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปี3

คณะ วิทยาการจัดการ

โปรแกรมวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คติประจำใจ ยังไงก็ต้องเรียนให้จบให้จงได้ และ จะทำวันนี้ให้ดีที่สุด